ด้วงงวงข้าว (Rice weevil, Black weevil)

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sitophilus oryzae Linnaeus

อันดับ : Coleoptara

วงศ์ : Curculionidae

 

วงจรชีวิต : ด้วงงวงข้าวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีทั้งหมด 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ใช้เวลาประมาณ 3-6 วัน ก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนเป็นหนอน ใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน ลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ ใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน รวมระยะเวลาจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 30-40 วัน ระยะตัวเต็มวัยขนาดประมาณ 2.0-3.0 มิลลิเมตร อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน หรือมากกว่านั้น ตัวเมียวางไข่ 300-400 ฟองตลอดอายุขัย

 

รูปร่างลักษณะ : ไข่ เป็นรูปวงรี สีขาว ตัวเต็มวัยตัวเมียจะเจาะรูที่เมล็ดพืชแล้ววางไข่รูละ 1 ฟอง หลังจากนั้นปิดรูด้วยไข ตัวอ่อน (หนอน) ตัวอ้วนป้อม ไม่มีรยางค์ที่ตัว หัวกะโหลกแข็งสีน้ำตาลเข้ม ตัวสีขาว ระยะดักแด้จะมีรยางค์ยื่นออกมาจากดักแด้ ตอนแรกจะเป็นสีขาวและสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลดำ ที่ส่วนหัวยื่นออกมาเป็นงวง (snout หรือ rostrum)มีหนวดแบบกระบอง มีหลุมขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วอกปล้องแรก (ponotum)

 

ลักษณะการทำลาย : ตัวอ่อนจะกัดกินและเข้าดักแด้อยู่ภายในเมล็ด เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมาภายนอก เมล็ดที่ถูกด้วงงวงข้าวเข้าทำลายจะเป็นรูและข้างในเป็นโพรง เนื้อเมล็ดจะถูกหนอนกัดกินอยู่ภายใน หากมีการทำลายสูงจะเหลือแต่เปลือกไม่สามารถนำเมล็ดพืชมาบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้ ด้วงงวงข้าวไม่พบทำลายแป้ง เพราะตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตในแป้งได้

 

ความสำคัญ : ด้วงงวงข้าวสามารถบินได้ และพบเข้าทำลายตั้งแต่อยู่ในไร่และติดเข้ามากับเมล็ดสู่โรงเก็บ แม้ว่าบางครั้งทางโรงเก็บจะมีระรบป้องกันดีแต่มาก แต่ไข่และตัวอ่อนก็สามารถติดเข้ามากับเมล็ดพืชได้อยู่ดี ด้วงงวงข้าวชอบอากาศอบอุ่น จึงระบาดมากแถบเอเชียและแอฟริกา แพร่กระจายได้ไกลๆ โดยการขนส่ง ระบาดตลอดปีเพราะกินอาหารได้หลากหลาย เช่น เมล็ดธัญพืชทุกชนิดคือ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เดือย และเมล็ดพืชอื่นๆ โดยที่จะเข้าทำลายหนักที่สุดคือ ข้าวเปลือก ข้าวสาลี