หนู (rat or mice) เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ หนูทำลายพืชผลและพยายามจะเข้าร่วมในที่อยู่อาศัยของมนุษย์และนำความเสียหายนานาประการแก่เศรษฐกิจของมนุษย์ได้แก่
- การกัดแทะกินพืชผลที่มนุษย์ปลูกตั้งแต่ในไร่นาตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา
- ในระหว่างการขนส่งและการแปรรูปผลิตผล จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค
- กัดแทะผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์
หนูเป็นสัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิดสู่คน และสัตว์เลี้ยง ได้แก่
- โรคฉี่หนู (leptospirosis)
- โรคไข้หนู (murine thyphus, scrub thyphus)
- กาฬโรค (plaque)
- โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ความเสียหายทางอ้อม
- การกัดสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคาร ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์
- การขุดรูอาศัยภายใต้อาคาร ตามคันดิน คันคลอง และในท่อระบายน้ำเสีย ทำให้พื้นอาคารทรุด ดินฝั่งตลิ่งทรุด เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ
ประเทศไทยมีหนู 3 สกุล คือ
- สกุลหนูพุก (Bandicota)
- สกุลหนูท้องขาว (Rattus)
- สกุลหนูหริ่ง (Mus)
สามารถแบ่งตามแหล่งที่พบอาศัยเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
-
หนูป่าหรือหนูนา (Wild or field rodents)
- หนูเหล่านี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าหรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช กินเมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา เป็นอาหาร
- หนูหลายชนิดขุดรูอาศัยในดิน เช่น หนูในสกุลหนูพุก และ สกุลหนูท้องขาว
-
หนูบ้านหรือหนูในเมือง (Commensal or domestic rodents)
- เป็นหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดในแหล่งชุมชนหรือในเมือง
- กินอาหารเกือบทุกชนิดที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง
- สามารถขุดรูอาศัยในดินหรือหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบ้านและนอกอาคารหรือในท่อระบายน้ำ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
- ชอบกัดแทะทำลายของกินและของใช้ต่างๆ ทั้งในบ้านเรือนและอาคารสถานที่
- เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคสู่มนุษย์
- เกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ สกุลหนูท้องขาวและสกุลหนูหริ่ง
หนูนอร์เวย์ หนูท่อ หนูตลาด(House rat, Common rat, Norway rat)
- น้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม
- ความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233 มิลลิเมตร หางสั้นกว่าความยาวตัว(ประมาณ 201 มิลลิเมตร)
- ลำตัวมี 2 สี ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง
- หน้าจะป้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้าน มีตาและใบหูเล็กกว่า
- ขนด้านท้องสีเทา ด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำ
- เท้าหลังใหญ่และมีขนขาวตลอด (44 มิลลิเมตร)
- เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้อง
- หนูที่ตัวโตเต็มที่จะกินอาหาร 20-30 กรัมต่อคืน (ประมาณ 10 % ของน้ำหนักตัว)
- สามารถเดินทางในแต่คืนเป็นระยะทางไกล 2-3 กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร
- พบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง
- อาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ๆ
- เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง
- ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำเป็นกลุ่ม
หนูท้องขาวบ้าน หนูหลังคา (Roof rat, Black rat)
- ตัวเต็มวัยน้ำหนักประมาณ 90-250 กรัม
- ความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 182 มิลลิเมตร
- สีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลและกลางหลังมีขนแข็งสีดำแทรก บางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึงกลางอก
- ขนบริเวณเท้าหลังส่วนใหญ่ยาวและมีขนดำแทรกปะปนบ้าง
- หางดำตลอด ยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว (ประมาณ 188 มิลลิเมตร)
- จมูกแหลม ใบหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต
- เพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้อง
- พบทั่วไปตามเพดานของบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ยุ้ง ฉาง นาข้าว ในสวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน
- ไม่ชอบขุดรูอาศัยในดิน มักอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนที่สูง หรือใต้หลังคาในห้องต่างๆ ของอาคาร
- ชอบกินผลไม้ ผักและเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์
- ชอบอาศัยอยู่ในที่แห้งและสูง เช่น ใต้หลังคาบ้านหรือตามขื่อแปของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆ บนต้นไม้
หนูจี๊ด (Polynesian rat)
- เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล Rattus
- มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27-60 กรัม
- ความยาวลำตัวเท่ากับ 115 มิลลิเมตร ตาโต ใบหูใหญ่
- เท้าหลังยาวประมาณ 23 มิลลิเมตร
- หางยาวกว่าหัวและลำตัวมาก (128 มิลลิเมตร) และมีสีเดียวตลอด
- ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ ขนด้านท้องสีเทา
- เพศเมียมีเต้านมที่อก 2 คู่ และที่ท้อง 2 คู่
- ชอบอาศัยในที่แจ้งตามบ้านเรือน โดยเฉพาะในห้องครัว ในห้องเก็บของ ในตู้ ในลิ้นชัก และยุ้งฉาง
- พบทำลายพืชผลไม้ ในไร่นา ไร่สวน ในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตร เช่นเดียวกับหนูนอร์เวย์
- หนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทุกประเภท
วงจรชีวิตหนูบ้าน
ชนิดของหนู |
วัยเจริญพันธุ์ |
ระยะตั้งท้อง (วัน) |
จำนวนลูกต่อครอก |
จำนวนครอกต่อปี |
อายุขัย (ปี) |
|
เพศผู้ |
เพศเมีย |
|||||
หนูนอร์เวย์ |
90-150 |
80-120 |
21-23 |
4-14 |
6-8 |
2-3 |
หนูท้องขาวบ้าน |
70-90 |
60-90 |
21-23 |
1-9 |
2-6 |
1-2 |
หนูจี๊ด |
60-70 |
60-70 |
20-23 |
3-7 |
3-8 |
1-2 |
การควบคุมหนู
- การกั้นหนูมิให้เข้ามายังอาคาร โรงเก็บ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
- การใช้วัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นสังกะสีหรือแสตนเลส ตาข่ายเหล็กหรือตาข่ายลวด ช่องขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร กั้นไม่ให้หนูเข้าสู่อาคารบ้านเรือน
- การก่อสร้างอาคารมีที่ที่กั้นหนูหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ที่ป้องกันหนูเข้ามาได้
- การใช้กับดัก กรงดักหนู กาวดักหนู
- การรักษาความสะอาดบ้านเรือนและแหล่งชุมชนโดยการเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดขยะที่ถูกต้อง
- การใช้ศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น นกแสก งู แมว และเชื้อโรค
- การใช้วัตถุอันตรายที่สังเคราะห์ หรือสารสกัดจากพืช เช่น สารรม สารกำจัด ยาเบื่อหนู