มอดแป้ง (Red flour beetle)

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tribolium castaneum (Herbst)

อันดับ : Coleoptera

วงศ์ : Tenebrionidae

 

วงจรชีวิต : มอดแป้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ คือมีทั้งหมด 4 ระยะ คือ ระยะไข่ใช้เวลา 3-7 วัน ก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ระยะตัวอ่อน (หนอน) ใช้เวลา 21-40 วัน ลอกคราบ 7-8 ครั้ง ก่อนเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ใช้เวลา 3-7 วัน รวมตั้งแต่ระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 26-40 วัน ระยะตัวเต็มวัยขนาด 2.3-4.4 มิลลิเมตร อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ตัวเต็มวัยตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 400-600 ฟองตลอดอายุขัย

 

รูปร่างลักษณะ : ไข่รูปร่างรียาว สีขาว ตัวอ่อนเป็นหนอนสีน้ำตาลอ่อน หัวจะสีเข้มกว่าตัวนิดหน่อย รูปร่างยาวเรียว มีกรามแข็งแรง มีขาจริง 3 คู่ ดักแด้จะเป็นสีขาวในตอนแรก สีจะค่อยๆ เข้มขึ้นเมื่อใกล้จะออก ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวแบนยาว หนวดเป็นแบบกระบอง

 

ลักษณะการทำลาย : มอดแป้งไม่สามารถเข้าทำลายเมล็ดพืชได้ด้วยตัวเอง มอดแป้งจะเข้าทำลายหลังจากที่แมลงตัวอื่นลงทำลายแล้ว หรือไม่ก็เข้าทำลายเมล็ดที่แตกหักหรือมีรอยบิ่น มอดแป้งชอบกินแป้งและรำ ในสภาพที่มีประชากรมอดแป้งหนาแน่นเกินไปมันจะกินกันเองและยังสามารถทำลายไข่ หนอนและดักแด้ของแมลงศัตรูตัวอื่นได้อีกได้ เช่น ผีเสื้อข้าวสาร มอดฟันเลื่อย เป็นต้น

 

ความสำคัญ : มอดแป้งเป็นศัตรูที่สำคัญของแป้งและรำ ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มันจะปล่อยฮอร์โมน benzoquinones ลงในอาหารที่กินฮอร์โมนนี้มีกลิ่นเหม็นและทำให้แป้งเปลี่ยนสี กลิ่นนี้จะติดทนนานแม้ว่านำแป้งไปประกอบอาหารแล้วกลิ่นก็จะยังอยู่ สามารถเข้าทำลายเมล็ดธัญพืช แป้งชนิดต่างๆ รำข้าว เครื่องเทศ กาแฟ โกโก้ ผลไม้แห้ง และหนังสัตว์ได้ พบแพร่กระจายในทุกภาคของประเทศไทย